ขั้นตอนการดำเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1  ผู้สมัครเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะ

——-ผู้สนใจเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ได้แก่ นักศึกษาที่กำลังสำเร็จการศึกษา บัณฑิตหรือศิษย์เก่าอาจารย์  นักวิจัย  บุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา ผู้สนใจทั่วไป เป็นต้น สมัครเข้าร่วมกิจกรรมบ่มเพาะวิสาหกิจ โดยส่ง   ใบสมัครและเอกสารต่าง ๆ (ดูตัวอย่างใบสมัครในภาคผนวก) ให้เจ้าหน้าที่หรือจัดส่งทางโทรสาร/ทางไปรษณีย์     อิเล็คทรอนิกส์   ตามที่อยู่ดังนี้

                                      หน่วยบ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

                                 ชั้น 1  อาคารสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน

                                      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี  ต.คลองหก

                                 อ.ธัญบุรี  จ.ปทุมธานี  12110

                                 โทร. 0 2549 3626-7    โทรสาร   0 2549 3628

                                  E-mail : ubi_rmutt@hotmail.com

 

ขั้นตอนที่ 2  การประเมินผู้สมัครเบื้องต้น โดยผู้จัดการหน่วยบ่มเพาะ

——-ผู้สมัครที่ส่งใบสมัครร่วมกิจกรรมจะได้รับการติดต่อหรือเข้ารับการประเมินเบื้องต้นเกี่ยวกับศักยภาพความเป็นไปได้ของธุรกิจซึ่งผู้ที่ผ่านการประเมินเบื้องต้นจะต้องนำเสนอแนวคิดธุรกิจแก่คณะกรรมการกลั่นกรอง (Screening Committee)


ขั้นตอนที่
3  การประเมินผู้สมัครโดยคณะกรรมการกลั่นกรอง

——-ผู้สมัครนำเสนอแนวคิดธุรกิจแก่คณะกรรมการกลั่นกรอง ประมาณ 15 นาที เพื่อพิจารณา    คัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการบ่มเพาะและให้ข้อคิดเห็นแนวทางในการบ่มเพาะต่อผู้ผ่านการพิจารณา


ขั้นตอนที่
4  การจัดทำแผนธุรกิจ

——-ผู้เข้ารับการบ่มเพาะจัดทำแผนธุรกิจเบื้องต้นของธุรกิจที่จะดำเนินการ โดยได้รับการแนะนำจากทีมงานของหน่วยบ่มเพาะ

ขั้นตอนที่ 5  กิจกรรมการบ่มเพาะ

——ผู้เข้ารับการบ่มเพาะสามารถขอรับบริการต่าง ๆ จากหน่วยบ่มเพาะ ในการเสริมสร้างศักยภาพทางธุรกิจ เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ ดังนี้

–  การให้บริการพื้นที่สำนักงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน (Space, Infrastructure, Facilities)     ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่อผู้เริ่มดำเนินธุรกิจที่ยังไม่มีพื้นที่              สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในช่วงเริ่มต้น  เช่น โทรศัพท์  โทรสาร  เครื่องถ่ายเอกสาร อินเตอร์เน็ต             ห้องประชุม  เป็นต้น ในราคาที่ต่ำกว่าพื้นที่ให้เช่าทั่วไป ทั้งนี้ ผู้เข้ารับการบ่มเพาะสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่สำนักงานหน่วยบ่มเพาะ โดยกรอกแบบฟอร์มตามตัวอย่างในภาคผนวกของคู่มือ

 –  การบริการช่วยเหลือในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) เป็นการให้บริการวิชาการในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product Development) เพื่อให้สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยอาศัยองค์ความรู้  เทคโนโลยี  นวัตกรรม  งานวิจัย  ผู้เชี่ยวชาญและทรัพยากรทางวิชาการของมหาวิทยาลัยฯ

  การบริการคำปรึกษาแนะนำในการเริ่มต้นธุรกิจ (Business Consulting)

–  การบริการความช่วยเหลือในการจัดทำแผนธุรกิจ (Business Plan) โดย RMUTT-UBI มีผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ให้บริการช่วยเหลือด้านวิชาการในการจัดทำแผนธุรกิจ แผนการตลาด และ    แผนเทคโนโลยี แก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ

  การบริการช่วยเหลือในการจับคู่ธุรกิจ (Business Matching)  เป็นการให้บริการช่วยเหลือในการจับคู่ธุรกิจ  หรือสร้างพันธมิตรทางธุรกิจ  (Business Partner)  แก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ   ในกรณี     ผู้เข้ารับการบ่มเพาะธุรกิจ ต้องการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจ

  การบริการคำปรึกษาด้านเทคโนโลยี (Technology Consulting)

  การบริการช่วยเหลือให้ผู้เข้ารับการบ่มเพาะเข้าถึงแหล่งทุน (Access to funding) มีบริการช่วยเหลือผู้เข้ารับการบ่มเพาะให้เข้าถึงแหล่งทุนในการประกอบธุรกิจ ทั้งในรูปแบบการกู้ยืมจาก   แหล่งทุน หรือในรูปแบบการหาผู้ร่วมทุนให้แก่ผู้เข้ารับการบ่มเพาะ

 

ขั้นตอนที่ 6  การประเมินผล

——ผู้เข้ารับการบ่มเพาะจะต้องส่งรายงานประเมินตนเอง (Self Assessment Report) ในการประกอบการด้านต่าง ๆ  เช่น  ยอดขาย  จำนวนงาน  จำนวนพนักงาน จำนวนเครือข่าย  แก่ RMUTT-UBI     ระยะเวลา 3  เดือน   6  เดือน และประจำปี

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>